หลังจากที่คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมา หลายฝ่ายได้ออกมาประณามรัสเซีย เนื่องจากเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณ และละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
คนแรกที่ออกมาประณามเรื่องนี้คือ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน โดยระบุตั้งแต่เมื่อวานนี้ ( 12 เม.ย.) ว่า สิ่งที่โลกได้เห็นในคลิปวิดีโอ คือ สิ่งที่รัสเซียทำและเป็นสิ่งที่รัสเซียเป็น
ก่อนที่เขาจะย้ำเรื่องนี้อีกครั้ง ระหว่างที่กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
เจ็บแต่จบ! สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสสิ้นสุดในปีนี้?
เอกสารลับที่ถูกอ้างเป็นข้อมูลข่าวกรองสหรัฐฯ คาดสงครามยูเครน-รัสเซีย มีแนวโน้มยืดเยื้อตลอดปี
และกล่าวเสริมว่า โลกต้องมีกลไกที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในการนำทรัพย์สินของรัสเซียที่ถูกแช่แข็ง มาชดเชยความเสียหายและคืนความยุติธรรมให้ชาวยูเครน
ด้านดมิโทร คูเลบา รัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครน ก็ได้ออกมาทวิตข้อความจวกรัสเซียเช่นกัน โดยระบุว่า การกระทำดังกล่าวโหดร้ายและเลวร้ายยิ่งกว่าการกระทำของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสในภูมิภาคตะวันออกกลาง
นอกจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครนแล้ว อีกคนที่ออกมาประณามการกระทำของกองทัพรัสเซียในทำนองเดียวกัน คือ ปีเตอร์ ปาเวล ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็กและอดีตประธานคณะกรรมาธิการทางทหารนาโต
ประธานาธิบดีปาเวลได้ทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า ถ้าเหตุการณ์ในคลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นเรื่องจริง รัสเซียแทบจะมีพฤติกรรมโหดร้ายไม่ต่างจากกลุ่มไอซิส
จากคำพูดของทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้นำของสาธารณรัฐเช็ก จะเห็นได้ว่ามีการเปรียบเทียบการกระทำของรัสเซียกับกลุ่มก่อการร้ายที่มีชื่อกลุ่มไอซิส
กลุ่มไอซิสคือใครและมีพฤติกรรมแบบใด? กลุ่มไอซิสเป็นกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในอิรักและซีเรีย ก่อตัวขึ้นเมื่อปี 2014 จากสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายอัล-กออิดะห์ในอิรัก ที่เหลือรอดจากการกวาดล้างของสหรัฐฯ และได้แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มใหม่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เป้าหมายของกลุ่มติดอาวุธนี้ คือ สร้างรัฐอิสลาม ที่มีการบังคับใช้กฎหมายอิสลามชารีอะฮ์อย่างเคร่งครัดและสุดโต่ง
ในช่วงปี 2014-2015 พวกเขายึดเมืองโมซูลของอิรัก สถาปนาเมืองเป็นศูนย์กลางของรัฐอิสลาม ส่งผลให้กองกำลังอิรักและนานาชาติต้องร่วมกันสู้รบอยู่นานหลายปีกว่าจะยึดคืนเมืองกลับมาได้
ก่อนจะถูกปราบจนราบคาบ กลุ่มก่อร้ายไอซิสขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายทารุณในการสังหารตัวประกันด้วยการตัดศีรษะทั้งเป็น ไม่เพียงโหดแต่พวกเขายังนิยมเผยแพร่คลิปวิดีโอการสังหารออกมาทางโลกออนไลน์ด้วย
คลิปวิดีโอที่สร้างความสะเทือนใจมีหลายคลิป ไม่ว่าจะเป็น การประหารเคนจิ โกโตะ นักข่าวชาวญี่ปุ่น หรือการประหารสายลับชาวรัสเซียในปี 2015
การสังหารตัวประกันหรือนักโทษด้วยวิธีการตัดศีรษะด้วยมีดโดยกลุ่มไอซิส เกิดบ่อยครั้งในช่วงปี 2014-2015 ช่วงเวลาที่ไอซิสกำลังรุ่งเรืองที่สุด โดยมีรายงานว่าเกิดการสังหารรูปแบบนี้ถึง 305 ครั้งภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น
นักวิเคราะห์ข่าวก่อการร้ายของสำนักข่าว CNN อธิบายว่า สาเหตุที่ทำให้การสังหารตัวประกันแบบนี้กลายเป็นที่นิยมในหมู่นักรบไอซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตลาดสำหรับการก่อการร้าย หรือ "Terror marketing" เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนมาสมัครเป็นนักสู้หน้าใหม่
นอกจากนี้ คลิปตัดศีรษะยังส่งผลทางจิตวิทยาด้วย เนื่องจากผู้ชายบางส่วนชอบดูภาพลามกและฉากที่มีความรุนแรง คลิปเหล่านี้จะไปกระตุ้นความชอบและกำลังใจในการก่อการร้ายของนักรบไอซิสเอง
ศาสตราจารย์ไมเคิล คลาร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงให้ความเห็นว่า คลิปวิดีโอที่ทหารยูเครนถูกตัดศีรษะ แทบไม่ได้ต่างจากสิ่งที่กลุ่มไอซิสเคยทำ
สิ่งที่น่ากังวลหลังจากที่คลิปวิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ออกไปก็คือ สงครามยูเครนที่ดำเนินอยู่อาจโหดร้ายมากขึ้น และนักโทษหรือเชลยศึกก็อาจมีโอกาสรอดชีวิตน้อยลง เนื่องจากทหารรัสเซียรายอื่นๆ อาจเอาเป็นแบบอย่าง
อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีหลักฐานออกมาว่ารัสเซียทารุณกรรมต่อทหารยูเครนที่มีฐานะเป็นเชลยสงคราม
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีภาพวิดีโอคลิปหนึ่งถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกออนไลน์ เป็นภาพที่ทหารยูเครนรายหนึ่งยืนสูบบุหรี่อยู่ ก่อนที่จะพูดว่ายูเครนจงเจริญ และถูกทหารรัสเซียยิงปืนกลใส่ศีรษะจนเสียชีวิต
หลายฝ่ายมองว่า พฤติกรรมเช่นนี้ของรัสเซียถือเป็นพฤติกรรมที่ทารุณและโหดร้าย เพราะแม้จะเป็นภาวะสงคราม แต่เชลยศึกย่อมได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาปี 1929 ฉบับที่ 3 ด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 3 นี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลายประเด็น เช่นสิทธิของเชลยศึกในการเข้าถึงการรักษาโรค อาหาร การปฐมพยาบาล การห้ามซ้อมทรมาน และการหาประโยชน์จากเชลยศึก
ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 196 ทั่วโลก รวมถึงรัสเซียและยูเครนด้วย ที่ลงนามว่าจะปฏิบัติตามอนุสัญญาเจนีวาฉบับดังกล่าว
การที่รัสเซียสังหารทหารยูเครนที่บาดเจ็บหรือโดนจับกุมตัวได้ ถือเป็นการละเมิดอนุสัญญานี้และอาจเข้าข่ายก่ออาชญากรรมสงคราม ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ข้อหาร้ายแรงตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ล่าสุดทางคณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรป ได้ออกมายืนยันแล้วว่า การกระทำดังกล่าวของทหารรัสเซียเข้าข่ายก่ออาชญากรรมสงคราม
เมื่อวานนี้ นาบิลา มาสสราลี โฆษกของสหภาพยุโรปออกมาแถลงว่า รัสเซียมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาเจนีวา และสหภาพยุโรปจะนำทหารรัสเซียที่กระทำความผิดมารับโทษให้ได้
ในขณะที่สงครามยูเครนยังดำเนินต่อไป สิ่งที่สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายนอกจากอาวุธ คือ กำลังพลในสนามรบ โดยถ้าเปรียบเทียบตัวเลขการสูญเสียของทั้งสองฝ่ายตามเอกสารลับที่รั่วไหลออกมาของสหรัฐฯ จะพบว่ารัสเซียสูญเสียทหารไปมากกว่ายูเครน
ทำให้มีกระแสออกมาว่า รัสเซียอาจเตรียมระดมพลครั้งใหม่เพื่อส่งทหารไปสู้กับยูเครน หลังจากระดมพลสำรองไปเมื่อปลายเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งล่าสุดรัสเซียได้ผ่านกฎหมายฉบับใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกาศระดมพลรอบที่สองแล้ว
วุฒิสภาของรัสเซียได้ลงมติรับรอง “ร่างกฎหมายเพื่อสร้างระบบการแจ้งการเกณฑ์ทหารแบบดิจิทัล” ที่สภาดูมาหรือสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอขึ้นมา ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 163 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง
วาเลนตินา มัตวิเยนโก ประธานวุฒิสภารัสเซียระบุว่า ร่างกฎหมายนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเกณฑ์ทหาร แต่รัฐบาลต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจทั่วกันด้วยภาษาที่ง่าย และไม่ก่อให้เกิดความตระหนกว่าเป็นการระดมพลสำรองครั้งใหม่
หลังจากนี้ ร่างกฎหมายระบบเกณฑ์ทหารแบบดิจิทัล จะถูกส่งต่อไปให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ลงนามรับรองเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จะทำให้ประชาชนที่ไม่ยอมรับหมายเรียกถูกดำเนินการตามมารตการต่าง ๆ เช่น ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ห้ามจดทะเบียนธุรกิจส่วนตัวและอาชีพอิสระ ห้ามจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ และห้ามออกบัตรเครดิตหรือขอเงินกู้
ด้านประชาชนรัสเซียได้ให้ความเห็นกับสื่อแตกต่างกันไป หลังจากที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการลงมติ
บางคนบอกว่ารัฐบาลควรทำแบบนี้นานแล้ว ขณะที่บางคนบอกว่ายังไม่เห็นประโยชน์จากการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะไม่ได้ต่างจากการให้หมายเรียกแบบเดิม