นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 1 ก.ย. อยู่ที่ระดับ 35.01 บาทต่อดอลลาร์ “ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.90-35.10 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ และประเมินกรอบเงินบาท ในช่วง 34.80-35.30 บาทต่อดอลลาร์ หลังตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน sideway (แกว่งตัวในช่วง 34.92-35.04 บาทต่อดอลลาร์) ตามทิศทางของเงินดอลลาร์และราคาทองคำ โดยเงินบาทมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ และการปรับตัวลดลงของราคาทองคำ หลังบรรยากาศในตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น ก่อนรับรู้รายงานยอดการจ้างงานของสหรัฐ ในวันศุกร์นี้
ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐ ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มเติม เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ในวันนี้ อย่างไรก็ดี รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ล่าสุดที่ชะลอลงตามคาดและสอดคล้องกับรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ก่อนหน้า ก็พอช่วยพยุงบรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมได้ ทำให้ดัชนี S&P500 ปิดตลาด ลดลงเพียง -0.16%
ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 ปรับตัวลงต่อ -0.20% หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของยูโรโซนออกมาอยู่ในระดับที่สูงถึง 5.3% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไปมาก ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังมองว่า ECB มีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงเดินหน้าขายทำกำไรการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะ กลุ่มสินค้าแบรนด์เนม (LVMH -2.7%, Hermes -1.6%)
ในฝั่งตลาดบอนด์ เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่ต่างรอลุ้นรายงานข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐ ในวันศุกร์นี้ ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ยังคงแกว่งตัว sideway ใกล้ระดับ 4.12% ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะมีการปรับสถานะถือครองที่ชัดเจนอีกครั้ง หลังรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ในวันนี้ และมีการปรับมุมมองต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ทั้งนี้ เรายังคงมุมมองเดิมว่า แม้บอนด์ยีลด์ระยะยาวอาจพลิกกลับมาปรับตัวขึ้น แต่ก็จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถทยอยเข้าซื้อสะสมบอนด์ระยะยาวได้
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดอาจมีการปรับสถานะบางส่วนก่อนรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ ในวันนี้ นอกจากนี้ ภาพตลาดการเงินสหรัฐ ที่อยู่ในภาวะระมัดระวังตัวก็มีส่วนทำให้เงินดอลลาร์ยังมีความน่าสนใจในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ทยอยปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 103.6 จุด (กรอบ 103.4-103.8 จุด)
ในส่วนของราคาทองคำ แรงขายทำกำไรของผู้เล่นบางส่วน ก่อนที่จะรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ รวมถึงจังหวะปรับตัวขึ้นของทั้งบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ และเงินดอลลาร์ ได้กดดันให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) ย่อตัวลงสู่ระดับ 1,966 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นบางส่วนในตลาดอาจรอทยอยซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวลงบ้าง ทำให้โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ ทั้งรายงานข้อมูลตลาดแรงงาน (ทยอยรับรู้ในช่วง 19.30 นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ตามเวลาในประเทศไทย) และรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม (ISM Manufacturing PMI) ในช่วงเวลา 21.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยในส่วนของข้อมูลตลาดแรงงานในเดือนสิงหาคมนั้น นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) อาจเพิ่มขึ้น 168,000 ราย ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ก็อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.3%m/m หรือ +4.3%y/y
ขณะที่อัตราการว่างงานอาจทรงตัวที่ระดับ 3.5% เรามองว่า หากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ ออกมาตามที่นักวิเคราะห์ประเมิน อาจไม่ได้หนุนให้เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แต่อาจทำให้เฟดสามารถคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน จนกว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงมากขึ้น (เรายังคงมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐ มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงปลายปี-ต้นปีหน้า) และในส่วนของรายงาน ดัชนี ISM Manufacturing PMI เดือนสิงหาคม นักวิเคราะห์ต่างมองว่า ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตอาจอยู่ที่ระดับ 47 จุด สะท้อนว่าภาคการผลิตสหรัฐ ยังคงหดตัวอยู่ (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) และเป็นการหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคมในปีก่อนหน้า
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า ในช่วงก่อนที่ตลาดจะทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ เงินบาทอาจเคลื่อนไหว sideway ในกรอบไม่ต่างจากช่วงวันก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เราเห็นว่า ทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นยังมีความไม่แน่นอน (มีการซื้อสุทธิ สลับกับการขายสุทธิในช่วงที่ผ่านมา) ทำให้เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง หากนักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรหุ้นไทย หลังดัชนี SET และ SET50 ได้รีบาวด์ขึ้นใกล้โซนแนวต้านสำคัญ แม้ว่า เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าบ้าง
แต่เรามองว่า เงินบาทก็อาจไม่ได้อ่อนค่าไปมากนัก เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่ต่างก็รอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่อยากปรับสถานะถือครองไปมากนัก ก่อนรับรู้ข้อมูลดังกล่าว โดยเราประเมินว่า โซนแนวต้านของเงินบาทอาจยังอยู่ในช่วง 35.10-35.20 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ
นอกจากนี้ เรามองว่า ควรระมัดระวังความผันผวนของตลาดการเงินในช่วงก่อนและหลังทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ โดยเราคาดว่า ธีมหลักของตลาดในช่วงนี้ ยังคงเป็น “Bad data is Good news for the market” หรือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ออกมาแย่กว่าคาด หรือ สะท้อนภาพเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากขึ้น จะส่งผลให้ตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงได้ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าว อาจลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย หรือ คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น
ดังนั้น หากยอดการจ้างงานสหรัฐ และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง รวมถึง ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตสหรัฐ ชะลอลงตามที่ตลาดคาด หรือ ออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจส่งผลให้ เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ในทางกลับกัน รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาด เงินดอลลาร์มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นแรง เช่น ดัชนีเงินดอลลาร์ DXY อาจปรับตัวขึ้นกลับไปสู่ระดับสูงกว่า 104 จุด ได้ไม่ยาก ซึ่งสามารถกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 35.30 บาทต่อดอลลาร์ได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในช่วงนี้ เรามองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง